ดันหมี ๒

Horsfieldia wallichii (Hook. f. et Thomson) Warb.

ชื่ออื่น ๆ
จันทร์ป่า (นราธิวาส)

ไม้ต้น มียางสีแดง กิ่งอ่อนมีขนสั้นหนาแน่น กิ่งแก่มีช่องอากาศประปราย ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ แกมรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อ ดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือที่กิ่งแก่ ดอกเพศผู้กลีบรวมโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก เป็น ๓-๔ แฉก ดอกเพศเมียกลีบรวมโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปรีแกมรูปไข่ ปลายแยกเป็น ๓-๔ แฉก มีขนประปราย ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงรีแกมทรงรูปไข่ เมล็ดรูปทรงรี เยื่อหุ้มเมล็ดสีส้ม


     ดันหมีชนิดนี้เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๓๐ ม. เส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๒๗ ซม. มียางสีแดง เปลือกสีน้ำตาล แก่หรือสีดำหม่น แตกเป็นร่องยาว เปลือกชั้นในสีแดง อ่อน สีแดงเข้ม สีชมพู หรือสีน้ำตาลแดง กระพี้สีขาว สี เหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาล เรือนยอดแน่น กิ่งอ่อนมีขนสั้น นุ่มหนาแน่น ภายในกลวง กิ่งแก่มีช่องอากาศประปราย
     ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่แกมรูปขอบ ขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปรีแกมรูปขอบ ขนานหรือรูปใบหอก กว้าง ๔-๑๒ ซม. ยาว ๑๔-๔๐ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลมหรือเกือบมน โคนสอบเรียว หรือมนขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้าย แผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปรายที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนประปรายหรือขนสั้นนุ่มหนาแน่น เส้นแขนง ใบข้างละ ๑๒-๒๘ เส้น ก้านใบยาว ๑-๔ ซม.
     ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือที่กิ่งแก่ มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบประดับ ยาว ๐.๓-๑ ซม. ร่วงง่าย ช่อดอกเพศผู้กว้าง ๖-๒๒ ซม. ยาว ๑๐-๓๓ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๓-๗ ซม. ก้านดอกยาว ๐.๓-๑ มม. กลีบรวมโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กว้าง ๒.๔-๓ มม. ยาว ๒-๓ มม. ปลายแยกเป็น ๓-๔ แฉก แต่ละแฉกลึกประมาณ ๑ ใน ๓ ถึง ๒ ใน ๓ ของความยาว ดอก ปลายแฉกมนกลม เกสรเพศผู้ ๑๕-๒๓ เกสร ก้าน ชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นวง ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม อับเรณูเชื่อมติดกันทางด้านข้าง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๗ ซม. มีดอกเพศเมียน้อย ก้านดอกยาว ๐.๕-๑.๕ มม. กลีบ รวมโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง ๒-๓.๕ มม. ยาว ๒.๕-๔ มม. ปลายแยกเป็น ๓-๔ แฉก แต่ละแฉก ลึกประมาณ ๑ ใน ๓ ของความยาวดอก มีขนประปราย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ถึงรูปทรงค่อนข้างกลม เกลี้ยง มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ยอดเกสรเพศเมียกว้าง หรือแยกเป็น ๒ พู
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงรีแกมทรงรูปไข่ กว้าง ๓-๔.๕ ซม. ยาว ๔-๗ ซม. เกลี้ยง ผนังผลหนา ๑- ๑.๕ ซม. เมล็ดรูปทรงรี เยื่อหุ้มเมล็ดสีส้ม
     ดันหมีชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคใต้ พบขึ้นในป่าตามสันเขาและป่าดิบชื้น บริเวณที่ราบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๕๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลตลอดปี ในต่างประเทศพบที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดันหมี ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Horsfieldia wallichii (Hook. f. et Thomson) Warb.
ชื่อสกุล
Horsfieldia
คำระบุชนิด
wallichii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Hook. f. et Thomson)
- Warb.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Hook. f.) ช่วงเวลาคือ (1817-1911)
- Thomson ช่วงเวลาคือ (1817-1878)
- Warb. ช่วงเวลาคือ (1859-1938)
ชื่ออื่น ๆ
จันทร์ป่า (นราธิวาส)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาวปาจรีย์ อินทชุบ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.